วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

ตัวอย่างเนื้อหากิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่[4]
1. การปูพื้นฐานให้เด็กมองเห็นความสวยงามของศิลปะ กิจกรรมอาจประกอบด้วย
- ฝึกสังเกตรูปทรงต่างๆ
- ให้เด็กสัมผัสและเล่นสิ่งต่างๆ ที่มีรูปทรง สีสัน เหมือนกันและต่างกัน
- เด็กและครูช่วยกันจัดมุมห้องให้สวยงาม เพื่อให้เด็กสังเกตลักษณะของ รูปทรง เส้น สี พื้นผิวของวัสดุต่างๆ ที่เปลี่ยนไป
- ครูหาหรือจัดทำสิ่งประดิษฐ์สำเร็จรูปมาตกแต่งห้อง กระตุ้นให้เด็กรู้สึกอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ
- เด็กและครูช่วยกันสะสมภาพต่างๆ ที่มีรูปทรง เส้น และสีที่สวยงามเพื่อใช้ตกแต่งห้องเรียน หรือเพื่อให้เด็กฝึกการดูตามใจชอบ
















2. การวาดภาพระบายสี
- ให้เด็กฝึกการลากเส้นตามจุดไข่ปลาที่ครูเตรียมไว้ให้เป็นรูปร่างง่ายๆ พยายามให้เส้นต่อเนื่องกัน
- ให้เด็กฝึกการใช้เส้นต่างๆ เส้นตั้ง เส้นนอน เส้นโค้งคลื่น เส้นก้นหอยฯ โดยฝึกวาดในกรอบที่กำหนดไว้ พยายามให้เส้นต่อเนื่องกัน
- วาดภาพระบายสีด้วยการใช้เส้นประเภทต่างๆ
- ให้เด็กวาดภาพบนกระดาษ กระดาน กระบะทราย หรือวัสดุที่ต่างออกไปจากที่เคยวาดในชีวิตประจำวัน ให้เด็กสังเกตผลที่ได้จากการวาด
- ขณะที่เด็กกำลังวาดอาจเปิดเพลงที่เด็กชอบเพื่อสร้างบรรยากาศ
- ครูกำหนดรูปทรงง่ายๆ บนกระดาษให้เด็กต่อเติมและระบายสีโดยอิสระ
- เมื่อวาดเสร็จให้เด็กตั้งชื่อผลงานและเล่าเรื่องประกอบภาพวาด









3. การทดลองเกี่ยวกับสี
- แนะนำสีชนิดต่างๆ อย่างง่ายๆ เช่น สีเทียน สีไม้ สีโปสเตอร์ และให้เด็กได้ทดลองใช้ โดยสีโปสเตอร์ครูผู้สอนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
- ให้ละเลงสีสีเดียวบนกระดาษขนาดใหญ่โดยใช้อวัยวะได้ไม่จำกัด เช่น ฝ่ามือ เท้า ท่อนแขนฯ และเล่าเรื่องจากผลงานที่เสร็จแล้ว
- ให้ทดลองหยดสีโปสเตอร์ทีละหยด โดยเริ่มจากการใช้ สี จำนวน 1 สี 2 สี ผสมกันให้เด็กฝึกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสี
- ให้เด็กทดลองเป่าสีเข้าหากันหลายๆ สี ฝึกสังเกตสีที่ผสมกัน
- นำกระดาษเนื้อบาง เช่น กระดาษสามาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมพับทบไปมา จุ่มปลายด้านหนึ่งลงกับสีสีหนึ่ง และนำมาจุ่มซ้ำกับสีอื่นๆ ให้เด็กฝึกสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
- หยดสีน้ำมันลงในอ่างน้ำดูการเคลื่อนที่และการผสมกันของสี
- นำกล่องรองเท้ามาใส่ลูกแก้วกลมที่ทาสีแล้วหลายๆ สี ปล่อยลูกแก้วให้กลิ้งไปมาในกล่องรองเท้า ให้เด็กฝึกสังเกตสีที่ทับกันไปมา
- ทดลองผสมแม่สีทั้ง 3 สีให้เด็กดู

4. การทำภาพพิมพ์
- ให้เด็กฝึกสังเกตสิ่งที่นำมาใช้เป็นแม่พิมพ์ เช่น ใบไม้ วัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน
- ให้เด็กพิมพ์ภาพด้วยสีและวัสดุต่างชนิดกัน
- ให้เด็กทดลองใช้อวัยวะของตนเองในการเป็นแม่พิมพ์ เช่น นิ้วมือ กำปั้น ฯลฯ
- นำภาพพิมพ์ที่เด็กทำเสร็จแล้วไปตากให้แห้งและให้เด็กต่อเติมภาพตามจินตนาการ
















5. การปั้น
- นำวัสดุที่ใช้ในการปั้น เช่น ดินน้ำมัน ดินเหนียว ฯลฯ ให้เด็กสัมผัส บีบ นวด
- ปั้นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ นำมาประกอบกันเป็นรูปร่างอื่นๆ เช่น หมู ทีวีฯ
- ให้เด็กปั้นรูปทรงอิสระตามจินตนาการ และเล่าเรื่องให้สอดคล้อง
- นำวัสดุที่ใช้ปั้นมาแผ่ให้เป็นแผ่นเรียบ นำวัสดุชนิดอื่นมากดทับให้เกิดเป็นรอย เช่น เหรียญบาท กุญแจฯ







6. การพับ ฉีก ปะ
- ให้เด็กๆ พับกระดาษเป็นรูปทรงง่ายๆ ตามที่ครูบอก
- ให้เด็กพับหรือม้วนกระดาษ หรือฉีกเศษผ้าให้เป็นแถบยาว นำมาขยุ้มหรือต่อเป็นรูปทรงและภาพต่างๆ
- ให้เด็กฉีกกระดาษเป็นรูปร่างรูปทรงง่ายๆ นำมาปะติดลงบนวัสดุอื่นหรือรูปภาพอื่นตามใจชอบ แล้วให้เด็กเล่าความหมายของภาพนั้น
- ครูเตรียมตัดรูปอวัยวะบนใบหน้าจากทั้งของคนและสัตว์จากนิตยสารต่างๆ แล้วให้เด็กเลือกไปปะติดบนใบหน้าอื่นๆ
7. การประดิษฐ์
- ให้เตรียมสิ่งของเหลือใช้มาจากบ้าน สาธิตสมมติการใช้สิ่งของนั้นๆ หน้าชั้นเรียน
- นำสิ่งของมาประกอบกันตามจินตนาการ เน้นให้ใช้วัสดุทุกอย่างเท่าที่มีและประกอบให้เป็นรูปทรงที่หลากหลายมากที่สุด
- ฝึกเด็กให้ใช้สิ่งของร่วมกันและทำงานเป็นกลุ่ม
ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวทางในการนำเสนอการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย โดยการออกแบบกิจกรรมต้องคำนึงถึงการที่เด็กจะได้เป็นผู้ริเริ่มในการทำงาน มีอิสระที่จะจินตนาการถึงสิ่งใดก็ได้ ทั้งนี้การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยตอนต้น ไม่ควรแยกตัวกิจกรรมออกมาอย่างเด่นชัด แต่ควรให้เด็กเลือกทำเองตามความสนใจเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่ม จึงจำเป็น ต้องมีครูพี่เลี้ยงหลายๆ คนคอยช่วยดูแล สำหรับเด็กปฐมวัยตอนปลายที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ควรจัดกิจกรรมทางศิลปะแยกออกมาเด่นชัดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กล่าวคือครูควรมีการจัดชั่วโมงศิลปะให้กับเด็กบ้างอย่างมีกระบวนการและจุดหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้เด็กมีความรู้อะไร หรือมีประสบการณ์ทางศิลปะอย่างไร กิจกรรมไม่ควรยากจนเกินไปเพราะเมื่อเด็กได้พยายามอย่างเต็มความสามารถแล้วงานยังไม่สำเร็จจะทำให้เด็กรู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่ายในกิจกรรมต่อๆ ไป
การจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยตอนปลายควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้[5]
1. ผู้สอนควรวางแผนล่วงหน้าตลอดเทอมว่าแต่ละสัปดาห์จะให้เด็กทำกิจกรรมอะไร ตาม ลำดับความยากง่ายและความซับซ้อนของชิ้นงาน











2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สภาพห้องเรียนและวิธีสอนให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้
3. ระหว่างที่ให้เด็กทำกิจกรรม ควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมที่จัดนั้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนเพียงพอหรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ให้เด็กต้องทำแล้วผลงานออกมาเหมือนกันทั้งห้อง เพราะการสร้างงานศิลปะคือการแสดงออกของการรับรู้เฉพาะตน โปรดจำไว้ว่าพฤติกรรมการทำงานศิลปะของเด็กแต่ละคนต่างกัน บางคนชอบนั่งทำงานที่โต๊ะ บางคนขอบนอนกับพื้น บางคนชอบนั่งทำงานนอกห้องเรียน ครูผู้สอนควรให้อิสระอย่างเต็มที่เพราะถ้าเด็กเพลินเพลินและมีสมาธิกับการทำงานจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการในทุกๆ ด้าน นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม และร่วมประเมินผลงานหรือแสดงความคิดเห็นผลงานของเพื่อร่วมชั้นเรียนด้วย
4. ให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างประสบการณ์ทางศิลปะขณะที่เด็กอยู่ที่บ้านด้วยเช่น มีการกำหนดเรื่องล่วงหน้าแต่ละสัปดาห์ว่าจะมีกิจกรรมเรื่องใด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำงานเป็นอย่างไรฯ การเตรียมการเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น เกิดจินตนาการและสร้างผลงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5. มีความเมตตาและหวังดีต่อเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยการแสดงความรักและความห่วงใยอยู่เสมอ พยายามใช้คำพูดกระตุ้นจินตนาการของเด็กระหว่างการทำงานเสมอ
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยาก แต่ผู้สอนต้องเข้าใจถึงพัฒนาการและความพร้อมของเด็ก โดยยอมรับว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไม่เท่ากัน กิจกรรมศิลปะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการสัมผัส การปฏิบัติและการสร้างสรรค์จะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นในทุกด้าน ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าผลของการจัดประสบการณ์ทางศิลปะมิได้ประเมินที่ตัวศิลปะว่าสวยงามตามการรับรู้ของผู้ใหญ่หรือไม่ หากประเมินด้วยรอยยิ้มอันเกิดจากความสุขที่ได้แสดงออกในงานศิลปะต่างหาก

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรมทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย ควรตั้งจุดประสงค์ในการเรียนรู้ให้กับเด็กโดยให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก จากนั้นจึงเป็นการกำหนดเนื้อหาและวางแผนกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะเด็กในด้านต่างๆ แม้ว่าจะมีการเตรียมการในขั้นตอนนี้อย่างดี แต่เด็กก็ยังเป็นเด็กที่มักมีนิสัยซุกซนอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัว การสร้างแรงจูงใจให้อยากเข้าร่วมกิจกรรมจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้[3] เช่น อาจเป็นการเล่านิทานให้ฟัง ฉายภาพยนตร์ให้ดู เปิดเพลงให้ฟัง พาไปดูของจริง การให้เด็กได้ใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ ฯลฯ ล้วนเป็นวิธีการที่เราต้องนำมาใช้ทั้งสิ้น สิ่งเร้าหรือสื่อต่างๆ นี้มีส่วนช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดรวบยอดในแต่ละเรื่องเพื่อนำไปควบคุมเส้นที่ขีดเขี่ยออก บางเรื่องจำเป็นต้องให้ประสบการณ์ตรงกับเด็กเพื่อสร้างความเข้าใจโดยไม่ต้องมีคำอธิบายมากมาย เช่น เรื่องของสุนัข กระต่าย แมลง ยานพาหนะ ฯลฯ การให้เด็กได้เห็นของจริงและเปิดโอกาสให้เด็กพินิจพิเคราะห์อย่าละเอียดถี่ถ้วน สัมผัสสิ่งนั้นด้วยมือ ฟังเสียงจริงๆ ดมกลิ่นจริง ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็กที่มีต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่ต้องคำนึงว่าเด็กเล็กในวัยนี้จะเรียนรู้ได้มากจากสิ่งของทีละอย่างซึ่งแตกต่างจากเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่สามารถรวบรวมความคิดจากสิ่งของหลายๆ สิ่งได้ในเวลาเดียวกัน ถ้ามีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายในเวลาเดียว เด็กจะเกิดความท้อใจ สับสน
ในกรณีที่เด็กไม่รู้จะวาดรูปอะไรดี ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นตัวเร้า วิธีที่นิยมใช้คือการแนะนำหัวข้อให้วาด เช่น สุนัขของฉัน, ครูของฉัน, บ้านของฉัน, คุณแม่ทำอาหาร, พระจันทร์เต็มดวง, รถของคุณพ่อ, ของเล่นของฉัน, เพื่อนที่โรงเรียน, พระจันทร์เต็มดวง, ปลาในตู้กระจก ฯลฯ
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานศิลปะก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เมื่อเด็กได้เห็นวัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่างออกไป ทำให้เขาอยากหยิบจับขึ้นสัมผัส ทดลองใช้และเริ่มคิดหัวข้อในการสร้างงานศิลปะ
การเตรียมห้องเรียนศิลปะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ห้องเรียนที่ดีควรมีโต๊ะเก้าอี้ที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับขนาดร่างกายของเด็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอด เนื่องจากบางกิจกรรมอาจจำเป็นต้องใช้โต๊ะมาต่อกันเพื่อให้ได้พื้นที่กว้างหรืออาจเป็นการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน จำนวนของโต๊ะเก้าอี้ควรเพียงพอกับจำนวนเด็ก โต๊ะที่ใช้ปฏิบัติงานควรลบมุมให้เรียบร้อย พื้นโต๊ะควรทำจากวัสดุคงทน เช่น โฟไมก้า หรือแผ่นโลหะเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด ในห้องเรียนควรมีตู้เก็บอุปกรณ์หรือสื่อการสอนศิลปะโดยเฉพาะ มีที่ตากผลงานเมื่อยังไม่แห้ง และที่ติดตั้งแสดงผลงานที่ควรได้รับการชื่นชม อ่างล้างมือสำหรับทำความสะอาด สบู่ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ฯลฯ กระดานไม้ขนาดเล็กสำหรับเด็กรองเขียนหรือเป็นฐานของงานปั้น สุดท้ายคือผ้าคลุมกันเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ต้องพะวงกับการรักษาความสะอาดจนขาดสมาธิในการทำงาน




ประเภทของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก

ประเภทของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก
พีรพงศ์ กุลพิศาล[2]ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับประเภทของกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กว่าเป็นกิจกรรมที่ใช้ความรู้สึกประกอบกับวัสดุและเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อผลิตเป็นผลงานออกมา ดังนั้นการจัดประเภทของกิจกรรมทางศิลปะควรแบ่งตามลักษณะของผลงานที่ให้เด็กสร้างสรรค์เป็นหลักได้แก่
1. กิจกรรมศิลปะสองมิติ หมายถึง กิจกรรมทางศิลปะที่มุ่งให้เด็กสร้างสรรค์ภาพบนระนาบวัสดุที่แบนๆ เช่น กระจก กระดาษ ผ้า ผนังปูน ผืนทราย ฯลฯ โดยใช้วิธีการวาดเส้น ระบายสี พิมพ์หรือกดประทับให้เป็นสี ปะติดด้วยกระดาษสี เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ การวาดภาพด้วยนิ้วมือหรือมือ การพิมพ์ภาพด้วยเศษวัสดุต่างๆ การวาดภาพด้วยดินสอสี สีเทียน สีโปสเตอร์ เป็นต้น ผลงานศิลปะประเภทนี้ดูแล้วแบนราบมีเฉพาะมิติของความกว้าง - ยาว
2. กิจกรรมศิลปะสามมิติ หมายถึง กิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กสร้างสรรค์ภาพให้มีลักษณะลอยตัว นูน หรือเว้าลงไปในพื้นโดยใช้วัสดุและเทคนิควิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัสดุนั้นๆ เช่น การปั้นทราย ดินเหนียว ดินน้ำมัน กระดาษ แป้ง ฯลฯ โดยประกอบวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกัน ขั้นตอนการทำงานในการจัดกิจกรรมประเภทนี้ไม่ควรมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ง่ายและไม่เป็นอันตราย โดยวัสดุที่นำมาประกอบนั้นควรเป็นวัสดุประเภทกล่องกระดาษ เมล็ดพืช ลูกปัด เศษไม้ ใบไม้ สามารถใช้กาวติดได้ง่าย เป็นต้น
3. กิจกรรมศิลปะผสมผสานสองมิติ สามมิติ หมายถึง กิจกรรมที่ให้เด็กได้สร้างสรรค์ภาพโดยใช้วัสดุและเทคนิควิธีทางศิลปะทั้งสองมิติและสามมิติรวมกัน เช่น ใช้สีโปสเตอร์ระบายรูปปั้น ดินเหนียวหรือแป้งที่แห้งแล้ว หรือระบายสีตกแต่งกล่อง เป็นต้น
การจัดประสบการณ์ทางศิลปะทั้ง 3 ประเภทควรให้เด็กมีโอกาสร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มด้วย กลุ่มละประมาณ 3 - 5 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของผลงาน เช่น ให้เขียนภาพผนังด้วยสีเทียนตามเรื่องราวต่างๆ ที่เด็กวัยนี้คุ้นเคย หรือให้ประกอบเศษวัสดุเป็นโครงสร้างต่างๆ ให้ก่อทรายเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นต้น







การจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็ก

การจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็ก


ถ้าเราเห็นว่ากิจกรรมทางศิลปะมีประโยชน์สำหรับเด็ก แล้วเราควรจะจัดกิจกรรมให้กับพวกเขาอย่างไรดีล่ะ?


ดังที่พอทราบกันว่ากิจกรรมทางศิลปะมีประโยชน์ในการช่วยพัฒนาเด็กในหลายๆ ด้าน การจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน การประกอบกิจกรรมทางศิลปะสำหรับเด็กอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน อาจใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนและทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือเป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครองในวันเสาร์อาทิตย์ เมื่อเด็กมีความสนใจที่จะแสดงออกผู้ปกครองไม่ควรขัดขวาง เช่น เด็กเล็กๆ เมื่อจับดินสอได้มักจะขีดเขียนไปทั่ว พื้นบ้าน ฝาผนัง ฯลฯ ผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจอาจดุด่าว่าเด็กทำให้เด็กกลัว คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นผิด ทางที่ดีควรหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น กระดาษ กระดาน สีเทียน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกอย่างอิสระ
วิธีการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กควรมุ่งเน้นในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสสำรวจ ทดลอง ค้นคว้าจากวัสดุนานาชนิด ด้วยวิธีการเรียนแบบแก้ปัญหา แทนการกระทำตามตัวอย่างและการเลียนแบบ เลิศ อานันทะ[1] ได้เสนอวิธีการสอนศิลปะโดยการเปรียบเทียบการสอนแนวเก่ากับแนวใหม่ ดังนี้




วิธีการสอนศิลปะแนวเก่า
วิธีการสอนศิลปะแนวใหม่
1. ครูคือศูนย์กลางของห้องเรียนที่เด็กทุกคนในชั้นจะต้องเชื่อฟัง
เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ภายใต้ระเบียบข้อตกลงร่วมกัน
2. กำหนดเนื้อหาแน่นอนตายตัว
เนื้อไม่แน่นอน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความสนใจของผู้เรียน
3. มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกคนให้เป็นศิลปินหรือช่าง

มีจุดหมายเพื่อจัดเตรียมกำลังคนให้มีคุณภาพโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นช่างศิลป์ เด็กโตขึ้นอาจมีอาชีพอื่นๆ ก็ได้
4. วิธีการแสดงออกมุ่งเน้นให้เด็กทำตามตัวอย่างหรือผลงานของผู้อื่นที่ทำสำเร็จแล้ว
ส่งเสริมให้เด็กแสงออกโดยวิธีการแบบแก้ปัญหา จึงไม่นิยมทำตัวอย่างให้เด็กดูทุกครั้ง นอกจากบางกรณีที่จำเป็นครั้งคราว
5. ยึดถือเอาผลงานเป็นเป้าหมายปลายทางในการเรียนรู้



ไม่ถือว่าผลงานเป็นสิ่งสำคัญแต่เน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เช่น การสร้างเสริมศิลปะนิสัยมีรสนิยมที่ดี ดังนั้นผลงานจึงเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น
6. มุ่งพัฒนาเด็กเฉพาะอวัยวะบางส่วนเท่านั้น เช่น ความแม่นยำในการใช้ประสาทตาและกล้ามเนื้อนิ้วมือ เป็นต้น
มุ่งพัฒนาเด็กตลอดทั้งชีวิต
7. วัดและประเมินผลโดยครูเพียงฝ่ายเดียว
วัดและประเมินผลโดยครูและนักเรียนร่วมกัน


การจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการกิน เล่น ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างถูกต้อง ปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักใช้ประสาทสัมผัสให้สัมพันธ์กันได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกต มีไหวพริบ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสดงออก ชื่นชมต่อความไพเราะและสิ่งสวยงามต่างๆ เห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาดังกล่าว ประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมศิลปะสามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                                       

1. การหยดสี วัตถุประสงค์
1) เด็กทดลองปฏิบัติกิจกรรมใหม่ ๆ
2) เด็กแปลความหมายของภาพที่เกิดขึ้น
วัสดุอุปกรณ์
1) กระดาษสีขาว
2) สีน้ำ สีฝุ่น หรือสีโปสเตอร์
วิธีการ
1) พับครึ่งกระดาษที่เตรียมไว้
2) คลี่กระดาษที่พับออก หยดสีที่เตรียมไว้ลงบนกระดาษ เติมสีหลาย ๆ สีด้านเดียวของรอยพับ
3) พับกระดาษลงตามรอยพับและใช้มือรีดให้ทั่ว
4) ตกแต่งให้งดงามด้วยพู่กัน (หากไม่จำเป็น ไม่ควรแต่ง)
ข้อเสนอแนะ
1) การกดกระดาษภายหลังจากการหยดสีแล้ว ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำรองด้านล่างและด้านบน เพื่อต้องการให้กระดาษที่จะกดหยุ่นตัว
2) การหยดสีบนกระดาษ ควรให้แต่ละสีอยู่ห่างกันพอสมควร ถ้าสีอยู่ใกล้ผสมกันมากไปจะไม่สดใสเท่าที่ควร

ทักษะการสอนศิลปะของเด็กปฐมวัย

http://www.edba.in.th/EDBA_Main/index.php?option=com_content&view=article&id=96
ที่มา : บทความจากจุลสารเพื่อนอนุบาล แผนกอนุบาล
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ศิลปศึกษา เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในวัยปฐมวัย เพราะประสบการณ์ทางศิลปะนั้น ไม่เพียงส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น หากยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการจัดประสบการณ์และกิจกรรมในลักษณะนี้มีคุณค่าและเอื้อต่อเด็กมากที่สุด ประสบการณ์ศิลปะส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ดังนี้
- พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ

- พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้จากกันและกัน (cooperative learning) แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน

- พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence) เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem) การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น สร้างวินัยและความรับผิดชอบ มีสุนทรียภาพ

- พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหา ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล สังเกต และเปรียบเทียบ ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก) มีทักษะทางด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์

คุณครูเป็นส่วนสำคัญในการจัดประสบการณ์ทางศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณครูต้องความเข้าใจการจัดกิจกรรมและบทบาทของตน ในการจัดประสบการณ์ศิลปะ

คุณครูควร

1.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม และพอเพียงต่อความต้องการ ของนักเรียน ในการเตรียมสถานที่นั้น คุณครูควรจัดเนื้อที่ให้นักเรียนทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวก และปลอดภัย อุปกรณ์ที่จัดให้ควรมีเพียงพอต่อนักเรียน เช่น ถ้ามีนักเรียน 5 คนที่วาดรูปด้วยสีโปสเตอร์ คุณครูควรที่จะเตรียมพู่กัน 5 อัน และจัดสี 1 ชุด ต่อนักเรียน 1-2 คน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน และรีบเร่งทำงานเพื่อที่จะแบ่งอุปกรณ์ให้กับเพื่อนที่รออยู่ หากในห้องเรียนมีอุปกรณ์น้อย คุณครูควรที่จะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม และใช้วิธีผลัดกัน

2.กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมปลายเปิด เช่น ระบายสีด้วยสีเทียน และสีโปสเตอร์ตามอิสระ เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์ ใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่ รู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจ (เลือกว่าจะวาดอะไร) และเรียนรู้ที่จะสื่อความคิดตนออกมาในรูปแบบที่ตนต้องการ

3.กิจกรรมที่จัดควรมีความเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ (Developmental Appropriate) ในการจัดกิจกรรม คุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อความสามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ กิจกรรมบางอย่างถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมศิลปะให้เด็ก แต่มันอาจจะไม่เหมาะกับเด็กในวัยปฐมวัย เช่น การพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ (origami) จัดว่าไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยปฐมวัย เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้นและซับซ้อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำตามรูปแบบที่กำหนดขั้นโดยดูครูเป็นตัวอย่าง และนักเรียนส่วนมากไม่สามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง และต้องรับความช่วยเหลือจากครูเกือบตลอดเวลา ซึ่งบางทีครูกลายเป็นคนพับเสียเอง การที่นักเรียนส่วนมากต้องการความช่วยเหลือตลอดกิจกรรมนั้น แสดงให้เห็นว่า พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อมที่เขาจะทำงานประเภทนี้ได้

4.Process not product คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน ระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมศิลปะ เขาได้ใช้กระบวนการการคิดต่าง ๆ เพื่อที่จะสื่อความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ผลงานเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน

5.ตั้งความคาดหวังให้เข้ากับวัยของนักเรียน เป็นเรื่องปกติที่คุณครูจะคาดหวังในนักเรียนของตน หากแต่ความคาดหวังที่ตั้งขึ้นนั้น ควรมีความเหมาะสมกับวัย เช่น เด็กวัย 3 ปี ยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กเริ่มสนใจและเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนต่าง ๆ กล้ามเนื้อมือนั้นยังไม่ แข็งแรงพอ ที่จะบังคับทิศทางของอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ การที่คุณครูคาดหวังให้เด็กในวัยนี้ ระบายสีโดยไม่ออกนอกเส้น หรือวาดรูปเป็นรูปร่างเจาะจงนั้น คุณครูสร้างความคาดหมายที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ดังนั้นในการที่ครูจะรู้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสม ครูต้องมีความเข้าใจและความรู้เรื่องพัฒนาการของผู้เรียนของตน และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะ เพื่อที่จะตั้งเป้าหมายและความหวังให้เข้ากับผู้เรียน

6.ให้ความสนใจและคุณค่าต่อกระบวนการทำงานและผลงานของนักเรียน ซึ่งทำได้โดย พูดคุยกับนักเรียน และมีการนำเสนอผลงาน การที่คุณครูนำเสนอผลงานของนักเรียน โดยการติดไว้ในที่บอร์ดในห้อง บ่งบอกให้นักเรียนรับรู้ว่า งานของเขามีคุณค่า ซึ่งจะทำให้เขาจะรู้สึกชื่นชมและภูมิใจในความสามารถของตน การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของครูที่มีต่อการทำงานของนักเรียน ซึ่งเฌอเม็คเคอร์ (1986) แนะนำว่าในการสนทนากับเด็ก คุณครูควรให้เด็กพูดและแสดงความคิดเห็นของตนโดยที่ครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบ หรือแก้ไขผลงานของเด็ก และแนะนำว่า เวลาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับงานศิลปะ ครูควรพูดถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ และการใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (elements of art) ในการวาดภาพ เช่น การใช้สี วิธีการวาดลายเส้น รูปทรง การจัดวางช่องว่างและใช้เนื้อที่ (space) เป็นต้น (Schirrmacher, 1986) ตัวอย่าง เช่น “ในภาพนี้ คุณครูสังเกตว่า มีเส้นหลายชนิด มีเส้นตรงข้างบน เส้นโค้งบนมุมขวามือ ...” “หนูใช้ความพยายามมากเลยในการตัดกระดาษให้เป็นสามเหลี่ยมอันเล็ก ๆ” “ครูสังเกตว่าเวลาหนูวางขนแปรงให้แบนบนกระดาษและลากเส้นลงมา เส้นที่ออกมาจะหนา” เป็นต้น การที่ครูพูดถึงงานของเด็กในลักษณะนี้ เป็นการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา และแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวครูมีความสนใจในกระบวนการทำงาน และให้คุณค่าต่องานของเขา ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตน

7.สนทนากับนักเรียน เรื่องการดูแลรักษา การใช้อุปกรณ์ และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม ในระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะทำกิจกรรม ครูควรที่จะพูดคุยให้เหตุผลกับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์ เช่น การที่จะให้นักเรียนทำการตัดแปะ ครูอาจจะพูดและสาธิตให้นักเรียนดูว่า เมื่อใช้กรรไกรเสร็จแล้ว ควรเก็บไว้ในตะกร้าเหมือนเดิม หรือใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน เช่น ถ้าครูเห็นนักเรียนเหยียบกรรไกร คุณครูควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรเหยียบ และสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยกันรักษาสมบัติของห้องเรียน

8.กำหนดเวลาให้เหมาะสม กิจกรรมศิลปะควรจัดให้เป็นกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจมาก และเป็นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และทักษะทางด้านต่าง ๆ ซึ่งในการจัดกิจกรรม ครูควรตั้งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม การที่ครูตั้งเวลาไว้น้อย และเร่งเด็กให้ทำงานเสร็จภายในเวลาอันสั้นนั้น สิ่งที่สื่อออกมา คือ กระบวนการทำงานนั้นไม่สำคัญเท่าการทำให้เสร็จในเวลา ดังนั้น เด็กก็จะรีบทำงานให้ เสร็จ ๆ ไป และไม่ใส่ใจในการทำงาน เป็นปกติที่เด็กแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน ดังนั้นคุณครูควรมีความยืดหยุ่นในเวลา ถ้านักเรียนทำงานไม่เสร็จ คุณครูอาจจะให้เวลาเพิ่มเติม หรือให้เขาเก็บงานไว้ทำในวันต่อไป

9.ให้นักเรียนมีส่วนร่วม (Students’ Involvement) นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียม และทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ และตะกร้าใส่ดินสอสี หรือช่วยเช็ดโต๊ะ เพื่อที่เขาจะได้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และเข้าใจถึงหน้าที่และรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และห้องเรียน


ข้อควรระวังในการจัดประสบการณ์ศิลปะ

1.ให้คะแนน หรือรางวัล เช่น ดาว สติกเกอร์ เป็นต้น การให้คะแนนหรือรางวัลนั้น คุณครูบางท่านอาจจะมองว่า เป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็ก แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่เด็กจะได้ก็คือ ความไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าออกมาไม่สวย ได้คะแนนไม่ดี ความกลัวว่าผลงานของตนจะไม่ดีพอไม่สวยพอ เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน นอกจากนี้ยังทำให้เด็กคิดว่าการทำงานต้องมีผลทางวัตถุตอบแทน จึงให้ความสนใจที่ผลตอบแทนมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ และยังจำกัดความคิดและสร้างสรรค์อย่างอิสระ
เนื่องจากนักเรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครู เพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัล ซึ่งจริง ๆ แล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคล ดังนั้นศิลปะไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิด มีสวยมากหรือสวยน้อย มีดีมากหรือดีน้อย การที่เราให้คะแนน หรือรางวัล ถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ไม่มีมาตรฐานเพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคล จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสินผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล

2.ให้นักเรียนระบายสี และตัดแปะกระดาษในกรอบ ศิลปะเป็นการสื่อความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สื่อสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรม การให้นักเรียนทำงานศิลปะที่มีกรอบกำหนดนั้น (pre-draw) เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เนื่องจากรูปถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว นักเรียนไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนตามจินตนาการของตนได้ และต้องทำตามแบบฉบับที่ถูกกำหนดไว้
ครูควรคำนึงว่า งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้นความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้ กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน

3.ใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จแล้ว การใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จ (pre-cut shapes) ในการตัดแปะนั้น สิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ การรู้จักแปะรูปด้วยกาว และการจัดวางเพื่อให้เกิดความเหมือน กิจกรรมในลักษณะนี้เป็นงานที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และเน้นเพียงความสวยงามและความเหมือนซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความคิดของผู้สอน กิจกรรมไม่ได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นคุณครูควรหลีกเหลี่ยงการตัดกระดาษสำเร็จรูปให้นักเรียน ควรให้นักเรียนฉีก ตัด กระดาษเป็นรูปร่าง ต่าง ๆ ตามความคิดส่วนตัว

4.วาดรูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง การที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้น ส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครู และต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้ เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง

5.ช่วยแก้ปัญหา โดยการทำให้ เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้ บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วยการทำให้ ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้ ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้น และใช้คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิด เช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไง เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร ” หรือ ให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา เช่น “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหม บางทีการที่เราได้เห็นรูป ”

อ้างอิง “Talking With Young Children About Their Art” by Schirrmacher, Robert, Young Chidren Magazine, July 1986, p. 3-7