http://www.edba.in.th/EDBA_Main/index.php?option=com_content&view=article&id=96
ที่มา : บทความจากจุลสารเพื่อนอนุบาล แผนกอนุบาล
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ที่มา : บทความจากจุลสารเพื่อนอนุบาล แผนกอนุบาล
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
- พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
- พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้จากกันและกัน (cooperative learning) แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน
- พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence) เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem) การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น สร้างวินัยและความรับผิดชอบ มีสุนทรียภาพ
- พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหา ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล สังเกต และเปรียบเทียบ ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก) มีทักษะทางด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์
คุณครูเป็นส่วนสำคัญในการจัดประสบการณ์ทางศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณครูต้องความเข้าใจการจัดกิจกรรมและบทบาทของตน ในการจัดประสบการณ์ศิลปะ
คุณครูควร
1.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม และพอเพียงต่อความต้องการ ของนักเรียน ในการเตรียมสถานที่นั้น คุณครูควรจัดเนื้อที่ให้นักเรียนทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวก และปลอดภัย อุปกรณ์ที่จัดให้ควรมีเพียงพอต่อนักเรียน เช่น ถ้ามีนักเรียน 5 คนที่วาดรูปด้วยสีโปสเตอร์ คุณครูควรที่จะเตรียมพู่กัน 5 อัน และจัดสี 1 ชุด ต่อนักเรียน 1-2 คน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน และรีบเร่งทำงานเพื่อที่จะแบ่งอุปกรณ์ให้กับเพื่อนที่รออยู่ หากในห้องเรียนมีอุปกรณ์น้อย คุณครูควรที่จะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม และใช้วิธีผลัดกัน
2.กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมปลายเปิด เช่น ระบายสีด้วยสีเทียน และสีโปสเตอร์ตามอิสระ เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์ ใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่ รู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจ (เลือกว่าจะวาดอะไร) และเรียนรู้ที่จะสื่อความคิดตนออกมาในรูปแบบที่ตนต้องการ
3.กิจกรรมที่จัดควรมีความเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ (Developmental Appropriate) ในการจัดกิจกรรม คุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อความสามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ กิจกรรมบางอย่างถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมศิลปะให้เด็ก แต่มันอาจจะไม่เหมาะกับเด็กในวัยปฐมวัย เช่น การพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ (origami) จัดว่าไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยปฐมวัย เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้นและซับซ้อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำตามรูปแบบที่กำหนดขั้นโดยดูครูเป็นตัวอย่าง และนักเรียนส่วนมากไม่สามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง และต้องรับความช่วยเหลือจากครูเกือบตลอดเวลา ซึ่งบางทีครูกลายเป็นคนพับเสียเอง การที่นักเรียนส่วนมากต้องการความช่วยเหลือตลอดกิจกรรมนั้น แสดงให้เห็นว่า พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อมที่เขาจะทำงานประเภทนี้ได้
4.Process not product คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน ระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมศิลปะ เขาได้ใช้กระบวนการการคิดต่าง ๆ เพื่อที่จะสื่อความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ผลงานเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน
5.ตั้งความคาดหวังให้เข้ากับวัยของนักเรียน เป็นเรื่องปกติที่คุณครูจะคาดหวังในนักเรียนของตน หากแต่ความคาดหวังที่ตั้งขึ้นนั้น ควรมีความเหมาะสมกับวัย เช่น เด็กวัย 3 ปี ยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กเริ่มสนใจและเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนต่าง ๆ กล้ามเนื้อมือนั้นยังไม่ แข็งแรงพอ ที่จะบังคับทิศทางของอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ การที่คุณครูคาดหวังให้เด็กในวัยนี้ ระบายสีโดยไม่ออกนอกเส้น หรือวาดรูปเป็นรูปร่างเจาะจงนั้น คุณครูสร้างความคาดหมายที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ดังนั้นในการที่ครูจะรู้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสม ครูต้องมีความเข้าใจและความรู้เรื่องพัฒนาการของผู้เรียนของตน และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะ เพื่อที่จะตั้งเป้าหมายและความหวังให้เข้ากับผู้เรียน
6.ให้ความสนใจและคุณค่าต่อกระบวนการทำงานและผลงานของนักเรียน ซึ่งทำได้โดย พูดคุยกับนักเรียน และมีการนำเสนอผลงาน การที่คุณครูนำเสนอผลงานของนักเรียน โดยการติดไว้ในที่บอร์ดในห้อง บ่งบอกให้นักเรียนรับรู้ว่า งานของเขามีคุณค่า ซึ่งจะทำให้เขาจะรู้สึกชื่นชมและภูมิใจในความสามารถของตน การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของครูที่มีต่อการทำงานของนักเรียน ซึ่งเฌอเม็คเคอร์ (1986) แนะนำว่าในการสนทนากับเด็ก คุณครูควรให้เด็กพูดและแสดงความคิดเห็นของตนโดยที่ครูไม่ควรที่จะเปรียบเทียบ หรือแก้ไขผลงานของเด็ก และแนะนำว่า เวลาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับงานศิลปะ ครูควรพูดถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ และการใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (elements of art) ในการวาดภาพ เช่น การใช้สี วิธีการวาดลายเส้น รูปทรง การจัดวางช่องว่างและใช้เนื้อที่ (space) เป็นต้น (Schirrmacher, 1986) ตัวอย่าง เช่น “ในภาพนี้ คุณครูสังเกตว่า มีเส้นหลายชนิด มีเส้นตรงข้างบน เส้นโค้งบนมุมขวามือ ...” “หนูใช้ความพยายามมากเลยในการตัดกระดาษให้เป็นสามเหลี่ยมอันเล็ก ๆ” “ครูสังเกตว่าเวลาหนูวางขนแปรงให้แบนบนกระดาษและลากเส้นลงมา เส้นที่ออกมาจะหนา” เป็นต้น การที่ครูพูดถึงงานของเด็กในลักษณะนี้ เป็นการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา และแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวครูมีความสนใจในกระบวนการทำงาน และให้คุณค่าต่องานของเขา ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตน
7.สนทนากับนักเรียน เรื่องการดูแลรักษา การใช้อุปกรณ์ และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม ในระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะทำกิจกรรม ครูควรที่จะพูดคุยให้เหตุผลกับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์ เช่น การที่จะให้นักเรียนทำการตัดแปะ ครูอาจจะพูดและสาธิตให้นักเรียนดูว่า เมื่อใช้กรรไกรเสร็จแล้ว ควรเก็บไว้ในตะกร้าเหมือนเดิม หรือใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน เช่น ถ้าครูเห็นนักเรียนเหยียบกรรไกร คุณครูควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรเหยียบ และสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยกันรักษาสมบัติของห้องเรียน
8.กำหนดเวลาให้เหมาะสม กิจกรรมศิลปะควรจัดให้เป็นกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจมาก และเป็นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และทักษะทางด้านต่าง ๆ ซึ่งในการจัดกิจกรรม ครูควรตั้งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม การที่ครูตั้งเวลาไว้น้อย และเร่งเด็กให้ทำงานเสร็จภายในเวลาอันสั้นนั้น สิ่งที่สื่อออกมา คือ กระบวนการทำงานนั้นไม่สำคัญเท่าการทำให้เสร็จในเวลา ดังนั้น เด็กก็จะรีบทำงานให้ เสร็จ ๆ ไป และไม่ใส่ใจในการทำงาน เป็นปกติที่เด็กแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน ดังนั้นคุณครูควรมีความยืดหยุ่นในเวลา ถ้านักเรียนทำงานไม่เสร็จ คุณครูอาจจะให้เวลาเพิ่มเติม หรือให้เขาเก็บงานไว้ทำในวันต่อไป
9.ให้นักเรียนมีส่วนร่วม (Students’ Involvement) นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียม และทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ และตะกร้าใส่ดินสอสี หรือช่วยเช็ดโต๊ะ เพื่อที่เขาจะได้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และเข้าใจถึงหน้าที่และรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และห้องเรียน
ข้อควรระวังในการจัดประสบการณ์ศิลปะ
1.ให้คะแนน หรือรางวัล เช่น ดาว สติกเกอร์ เป็นต้น การให้คะแนนหรือรางวัลนั้น คุณครูบางท่านอาจจะมองว่า เป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็ก แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่เด็กจะได้ก็คือ ความไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าออกมาไม่สวย ได้คะแนนไม่ดี ความกลัวว่าผลงานของตนจะไม่ดีพอไม่สวยพอ เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน นอกจากนี้ยังทำให้เด็กคิดว่าการทำงานต้องมีผลทางวัตถุตอบแทน จึงให้ความสนใจที่ผลตอบแทนมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ และยังจำกัดความคิดและสร้างสรรค์อย่างอิสระ
เนื่องจากนักเรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครู เพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัล ซึ่งจริง ๆ แล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคล ดังนั้นศิลปะไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิด มีสวยมากหรือสวยน้อย มีดีมากหรือดีน้อย การที่เราให้คะแนน หรือรางวัล ถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ไม่มีมาตรฐานเพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคล จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสินผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล
เนื่องจากนักเรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครู เพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัล ซึ่งจริง ๆ แล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละบุคคล ดังนั้นศิลปะไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิด มีสวยมากหรือสวยน้อย มีดีมากหรือดีน้อย การที่เราให้คะแนน หรือรางวัล ถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ไม่มีมาตรฐานเพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคล จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสินผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล
2.ให้นักเรียนระบายสี และตัดแปะกระดาษในกรอบ ศิลปะเป็นการสื่อความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สื่อสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรม การให้นักเรียนทำงานศิลปะที่มีกรอบกำหนดนั้น (pre-draw) เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เนื่องจากรูปถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว นักเรียนไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนตามจินตนาการของตนได้ และต้องทำตามแบบฉบับที่ถูกกำหนดไว้
ครูควรคำนึงว่า งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้นความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้ กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน
ครูควรคำนึงว่า งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้นความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้ กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน
3.ใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จแล้ว การใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จ (pre-cut shapes) ในการตัดแปะนั้น สิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ การรู้จักแปะรูปด้วยกาว และการจัดวางเพื่อให้เกิดความเหมือน กิจกรรมในลักษณะนี้เป็นงานที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ และเน้นเพียงความสวยงามและความเหมือนซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความคิดของผู้สอน กิจกรรมไม่ได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นคุณครูควรหลีกเหลี่ยงการตัดกระดาษสำเร็จรูปให้นักเรียน ควรให้นักเรียนฉีก ตัด กระดาษเป็นรูปร่าง ต่าง ๆ ตามความคิดส่วนตัว
4.วาดรูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง การที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้น ส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครู และต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้ เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง
4.วาดรูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง การที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้น ส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครู และต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้ เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง
5.ช่วยแก้ปัญหา โดยการทำให้ เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้ บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วยการทำให้ ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้ ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้น และใช้คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิด เช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไง เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร ” หรือ ให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา เช่น “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหม บางทีการที่เราได้เห็นรูป ”
อ้างอิง “Talking With Young Children About Their Art” by Schirrmacher, Robert, Young Chidren Magazine, July 1986, p. 3-7
อ้างอิง “Talking With Young Children About Their Art” by Schirrmacher, Robert, Young Chidren Magazine, July 1986, p. 3-7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น